เทคโนโลยีชีวภาพกับการดำรงชีวิต
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554
ประโยชน์ของ PCR ในการตรวจวินิจฉัยโรค
สารเคมีที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยา PCR
- Deoxynucleotides (dNTPs) เป็น
นิวคลี โอ ไทด์ ซึ่ง เป็น หน่วย ย่อย สำหรับ นำ ไป สังเคราะห์ ดี เอ็น เอ สาย ใหม่ - DNA polymerase เป็น
เอนไซม์ สำหรับ สังเคราะห์ ดี เอ็น เอ ให้ ช่วย เร่ง ปฏิกิริยา เชื่อม ต่อ นิวคลี โอ ไทด์ใหม่ เข้ากับไพรเมอร์ - Primer เป็น
ดี เอ็น เอ เริ่ม ต้น สาย สั้น ๆ ที่ มี ลำ ดับ เบส เป็น คู่ สมกับดี เอ็น เอ ที่ เป็น ต้น แบบ ของ การ สังเคราะห์ ใน การ ทำ PCR จึง ต้อง ทราบ ลำ ดับ เบส ของ ดี เอ็น เอ ที่ ต้อง การ จะ เพิ่ม จำนวน เพื่อ ใช้ ใน การ สร้าง ไพเมอร์จำเพาะ - PCR buffer เป็น
สาร ละ ลาย ที่ ควบ คุม สภาวะ ของ การ ทำ ปฏิกิริยา ให้ เหมาะ สม เช่น pH และ เกลือ ต่าง ๆ ซึ่ง จะ ต้อง มี อนุมูล แมกนีเซียม (Mg++) อยู่ ด้วย - Template คือ
ดี เอ็น เอ ต้น แบบ หรือ ยีน ส่วน ที่ ต้อง การ เพิ่ม ปริมาณ หรือ เป็น ตัว อย่าง ดี เอ็น เอ ที่ ต้อง การ นำ มา ตรวจ หา ดี เอ็น เอ จำเพาะ
เทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR)
การโคลนนิ่ง
เทคนิค PCR ในการเพิ่มจำนวน DNA และวินิจฉัยโรคบางชนิด
ดีเอ็นเอคลังข้อมูลพันธุกรรม ดีเอ็นเอ หรือ Deoxyribonucleic (DNA) เป็นสารพันธุกรรมทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยดีเอ็นเอจะประกอบด้วยหน่วยย่อยพื้นฐานที่เรียกว่า “นิวคลีโอไทด์” อันเป็นชุดของโมเลกุลฟอสเฟต น้ำตาลเพนโตส และสารเคมีที่มีสมบัติเป็นด่างหรือ “เบส” 1 ตัว ซึ่งเบสจะมีอยู่ 4 ชนิดคือ adenine (A) , guanine (G) , cytosine (C) , thymine (T)
ลักษณะโครงสร้างของดีเอ็นเอประกอบขึ้นจากสายชุดนิวคลีโอไทด์ 2 สายที่มาพันเข้าด้วยกันเป็นลักษณะเกลียวคู่หรือบันไดเวียน โดยมีเบสที่เรียงรายอยู่ตามสายแต่ละสาย แต่ละสายทำหน้าที่ยึดจับระหว่างสายทั้งสอง และปรากฏว่าสายส่วนที่มีเบส A จะจับคู่สร้างพันธะกับเบส T และส่วนที่มีเบส G จะจับคู่เบส C ซึ่งการจับคู่กันนี้เรียกว่าเป็นเบสคู่สม และแต่ละส่วนบนสายดีเอ็นเอนี้เองที่เป็นที่อยู่ของ “ยีน” (gene) ซึ่งเป็นส่วนที่บรรจุข้อมูลสำหรับการสร้างโปรตีนชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยยีนที่ต่างกันก็จะมีตำแหน่งที่อยู่และการเรียงลำดับของเบสบนตัวมันแตกต่างกันไป
ดีเอ็นเอคลังข้อมูลพันธุกรรม ดีเอ็นเอ หรือ Deoxyribonucleic (DNA) เป็นสารพันธุกรรมทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยดีเอ็นเอจะประกอบด้วยหน่วยย่อยพื้นฐานที่เรียกว่า “นิวคลีโอไทด์” อันเป็นชุดของโมเลกุลฟอสเฟต น้ำตาลเพนโตส และสารเคมีที่มีสมบัติเป็นด่างหรือ “เบส” 1 ตัว ซึ่งเบสจะมีอยู่ 4 ชนิดคือ adenine (A) , guanine (G) , cytosine (C) , thymine (T)
ลักษณะโครงสร้างของดีเอ็นเอประกอบขึ้นจากสายชุดนิวคลีโอไทด์ 2 สายที่มาพันเข้าด้วยกันเป็นลักษณะเกลียวคู่หรือบันไดเวียน โดยมีเบสที่เรียงรายอยู่ตามสายแต่ละสาย แต่ละสายทำหน้าที่ยึดจับระหว่างสายทั้งสอง และปรากฏว่าสายส่วนที่มีเบส A จะจับคู่สร้างพันธะกับเบส T และส่วนที่มีเบส G จะจับคู่เบส C ซึ่งการจับคู่กันนี้เรียกว่าเป็นเบสคู่สม และแต่ละส่วนบนสายดีเอ็นเอนี้เองที่เป็นที่อยู่ของ “ยีน” (gene) ซึ่งเป็นส่วนที่บรรจุข้อมูลสำหรับการสร้างโปรตีนชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยยีนที่ต่างกันก็จะมีตำแหน่งที่อยู่และการเรียงลำดับของเบสบนตัวมันแตกต่างกันไป
วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การโคลนแกะดอลลี่
การโคลนแกะดอลลี่
การโคลนแกะดอลลี่ เป็นการค้นพบใหม่ ดอลลี่เกิดมาจาก สถาบันรอสลิน ผู้สร้างดอลลี่ โดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะหน้าขาวตัวหนึ่งซึ่งเจริญเต็มที่ ดูดเอานิวเคลียสของเซลล์ออกมา แล้วนำไปใส่ในไข่ที่ดูดมาจากรังไข่ของแกะหน้าดำซึ่งได้ดูดเอานิวเคลียสทิ้งไป เมื่อนำไปใส่แล้วก็นำเซลล์ที่ได้ไปใส่ในโพรงมดลูกของแกะหน้าดำตัวเดิม ให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ได้ เมื่อครบกำหนดออกมาลูกของแกะหน้าดำที่คลอดออกมากลับกลายเป็นแกะหน้าขาว ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับแกะหน้าขาวเจ้าของเซลล์เต้านมทุกประการ เป็นครั้งแรกที่สามารถทำให้เกิดการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ(Asexual reproduction) ในสัตว์ชั้นสูง เช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งการสืบพันธุ์จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยสารพันธุกรรมในโครโมโซมครึ่งหนึ่งมาจาก sperm ของพ่อ (n) และอีกครึ่งหนึ่งมาจากไข่ของแม่ (n) แต่การโคลนที่เกิดขึ้นนี้ สารพันธุกรรมในโครโมโซมทั้งหมด (2n) มาจากต้นแบบ ดังภาพ
การโคลนแกะดอลลี่ เป็นการค้นพบใหม่ ดอลลี่เกิดมาจาก สถาบันรอสลิน ผู้สร้างดอลลี่ โดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะหน้าขาวตัวหนึ่งซึ่งเจริญเต็มที่ ดูดเอานิวเคลียสของเซลล์ออกมา แล้วนำไปใส่ในไข่ที่ดูดมาจากรังไข่ของแกะหน้าดำซึ่งได้ดูดเอานิวเคลียสทิ้งไป เมื่อนำไปใส่แล้วก็นำเซลล์ที่ได้ไปใส่ในโพรงมดลูกของแกะหน้าดำตัวเดิม ให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ได้ เมื่อครบกำหนดออกมาลูกของแกะหน้าดำที่คลอดออกมากลับกลายเป็นแกะหน้าขาว ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับแกะหน้าขาวเจ้าของเซลล์เต้านมทุกประการ เป็นครั้งแรกที่สามารถทำให้เกิดการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ(Asexual reproduction) ในสัตว์ชั้นสูง เช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งการสืบพันธุ์จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยสารพันธุกรรมในโครโมโซมครึ่งหนึ่งมาจาก sperm ของพ่อ (n) และอีกครึ่งหนึ่งมาจากไข่ของแม่ (n) แต่การโคลนที่เกิดขึ้นนี้ สารพันธุกรรมในโครโมโซมทั้งหมด (2n) มาจากต้นแบบ ดังภาพ
โคลนนิ่ง คืออะไร ?
โคลนนิ่ง คืออะไร ?
ตามความหมาย โคลนนิ่ง (Cloning) หมายถึงการคัดลอก หรือทำซ้ำ (copy) นั่นเอง สำหรับทางการแพทย์ หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนของเดิมทุกประการ การโคลนนิ่งเกิดอยู่เสมอในธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนได้แก่ การเกิดฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน นั่นเอง กระบวนการโคลนนิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ได้นำมาใช้เป็นเวลานานแล้วโดยเราไม่รู้ตัว ได้แก่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และตัวอ่อนสัตว์ โดยการแยกเซลล์ ซึ่งทำกันทั่วไปในวงการเกษตร
แต่ข่าวที่เป็นที่น่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาตร์การแพทย์ไปทั่วโลก ได้แก่ การทำโคลนนิ่งแกะ ที่ชื่อว่า ดอลลี่ นับเป็นการค้นพบครั้งใหม่ของวงการทีเดียวดอลลี่ เกิดมาได้ยังไง ?
สถาบัน รอสลิน ผู้สร้างดอลลี่ขึ้นมา โดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะหน้าขาวตัวหนึ่งซึ่งเจริญเต็มที่ ดูดเอานิวเคลียสของเซลล์ออกมา แล้วนำไปใส่ในไข่ที่ดูดมาจากรังไข่ของแกะหน้าดำ ซึ่งได้ดูดเอานิวเคลียสทิ้งไป เมื่อนำไปใส่แล้ว ก็นำเซลล์ที่ได้ ไปใส่ในโพรงมดลูกของแกะหน้าดำตัวเดิม ให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ได้ เมื่อครบกำหนด ออกมาลูกของแกะหน้าดำที่คลอดออกมากลับกลายเป็นแกะหน้าขาว ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับแกะหน้าขาว เจ้าของเซลล์เต้านมทุกประการแล้วมันแปลกยังไง เป็นความรู้ใหม่ตรงไหน ?
ความรู้จากการค้นพบใหม่นี้ มีหลายประการได้แก่
เป็นครั้งแรกที่สามารถทำให้เกิดการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) ได้ในสัตว์ชั้นสูงเช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งแต่เดิมมา การสืบพันธุ์จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยสารพันธุกรรมในโครโมโซม ครึ่งหนึ่งมาจาก sperm ของพ่อ (n) และอีกครึ่งหนึ่ง มาจากไข่ของแม่(n) แต่การโคลนนิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สารพันธุกรรมในโครโมโซมทั้งหมด (2n) มาจากต้นกำเนิดเดียวกัน คือ เซลล์เต้านมเซลเดียว
เป็นครั้งแรกที่พบว่า เซลล์ที่มีการจำแนกชนิด (differentiation) แล้ว ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะ และไม่ทำหน้าที่อื่นอีก เช่น เซลล์เต้านม ซึ่งทำหน้าที่ผลิตน้ำนมแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ทำหน้าที่อื่น สามารถย้อนกลับไปเป็นเซลล์ที่ไม่จำแนกชนิด (undifferentiated cell) เพื่อสามารถจำแนกชนิดได้อีกครั้ง กลายเป็นเซลล์สำหรับอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ, สมอง, ผิวหนัง, เลือด, อวัยวะต่าง ๆ
ทำให้เราได้ทราบว่า มีปัจจัยบางอย่าง (ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร) ซึ่งน่าจะอยู่ในไข่ ส่วน cytoplasm สามารถทำให้ยีนหรือสารพันธุกรรม ซึ่งถูกหยุดการทำงานไปแล้ว เนื่องจากการจำแนกชนิด ให้กลับมาทำงานได้อีก ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เซลล์ทุกชนิดในร่างกายของเรา มีสารพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว, เซลล์ตับอ่อน, แม้กระทั่งเซลล์ประสาท แต่การที่เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถจับกินเชื้อโรคได้ แต่สร้างฮอร์โมนอินสุลินไม่ได้ ในขณะที่เซลล์ตับอ่อน สามารถสร้างฮอร์โมนอินสุลินได้ แต่จับกินเชื้อโรคไม่ได้ เนื่องจากเซลล์เหล่านี้ มียีนบางตัวที่ถูกหยุดการทำงานไปแล้ว และบางตัวยังคงทำงานอยู่ไม่เหมือนกันในแต่ละชนิดของเซลล์แล้วมนุษย์เราได้ประโยชน์จากความรู้นี้ยังไงบ้าง ?
วิธีการโคลนนิ่งในการโคลนนิ่งเป็นการนำเอานิวเคลียสของเซลล์ต้นแบบไปถ่ายฝากในเซลล์ไข่ที่ดูดเอานิวเคลียสออกแล้ว จึงเอานิวเคลียสของเซลล์ต้นแบบไปผ่านกระแสไฟฟ้า เพื่อเหนี่ยวนำให้ผนังเซลล์หลอมติดกันแล้วจึงนำไปเพาะเลี้ยงให้มีการพัฒนาเป็นเอ็มบริโอจนถึงระยะย้ายฝากได้
การเตรียมเซลล์ไข่เพื่อรับการถ่ายฝากนิวเคลียส ใช้เซลล์ไข่มาทำการเพาะเลี้ยงให้ไข่อ่อนเจริญจนถึงระยะเมตาเฟส II ในห้องปฏิบัติการในน้ำยาเพาะเลี้ยง TCM 199 ที่เสริมด้วยฮอร์โมน ในอุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส และสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมมีความชื้นสูงเป็นเวลา 20 ถึง 24 ชั่วโมง เซลล์ไข่จะสุกถึงระยะเมตาเฟส II สังเกตจากเซลล์หุ้มเซลล์ไข่กระจายออกมาก นำเซลล์ไข่เหล่านี้มาดูดเอานิวเคลียสออกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ที่ติดตั้งเครื่องมือจุลศัลยกรรม โดยมีปิเปตแก้วดูดจับเซลล์ไข่ไว้และปิเปตอีกข้างจะทำหน้าที่เจาะเซลล์ไข่เพื่อดูดเอานิวเคลียสออกมา ปิเปตแก้วเล็กๆนี้ได้รับการแต่งปลายให้เหมาะสมกับการใช้งาน จากนั้นใช้ปิเปตที่ดูดนิวเคลียสไปจับเซลล์ต้นแบบแล้วนำไปใส่ในเปลือกหุ้มเซลล์ไข่ ผนังเซลล์ทั้งสองจะสัมผัสกันจึงนำไปหลอมเซลล์ทั้งสองเข้าด้วยกัน ด้วยเครื่องหลอมเซลล์ ( electrofusion ) โดยใช้กระเสไฟฟ้าที่เหมาะสม นิวเคลียสที่เป็นเซลล์ต้นแบบอาจจะมาจากเซลล์เอ็มบริโอหรือเซลล์ร่างกายชนิดต่างๆนำเซลล์ที่หลอมแล้วมาทำการเพาะเลี้ยงต่อเพื่อให้มีการแบ่งตัวเป็นเอ็มบริโอจนถึงระยะนำไปย้ายฝากได้ การผลิตเอ็มบริโอเพื่อใช้เป็นเซลล์ต้นแบบ เอ็มบริโออาจได้จากการผสมตามธรรมชาติหรือผสมเทียมแล้วชะล้างออกมาจากตัวแม่หรือได้จากการผสมในหลอดทดลอง โดยเซลล์ไข่สุกที่ได้จากการเพาะเลี้ยง 20 ถึง 24 ชั่วโมงจะถูกนำมาปฏิสนธิกับเซลล์อสุจิของโคตัวผู้ซึ่งอาจเป็นเซลล์อสุจิที่ได้จากน้ำเชื้อสดหรือน้ำเชื้อแช่แข็งก็ได้ นำมาคัดเลือกเซลล์อสุจิโดยให้ว่ายน้ำขึ้นในน้ำยาเพื่อให้ได้เซลล์อสุจิที่มีอัตราการเคลื่อนไหวดี และนำมาเตรียมความพร้อมของหัวเซลล์อสุจิโดยใช้สารเฮปพาริน จึงนำไปผสมกับเซลล์ไข่โดยใช้เซลล์อสุจิที่มีคามเข้มข้น 1x106เซลล์/มิลลิลิตร เพาะเลี้ยงภายในเวลา 20 ชั่วโมง แล้วนำมาเพาะเลี้ยงร่วมกับเซลล์บุท่อนำไข่ เป็นเวลาประมาณ 4 ถึง 7 วัน แล้วแต่การเลือกใช้เซลล์จากเอ็มบริโอระยะใดอาจเพาะเลี้ยงจนหลุดออกจากเปลือกหุ้มและเกาะติดจานแก้วทำให้ได้เซลล์ที่เรียกว่าเซลล์ต้นกำเนิดเอ็มบริโอจึงจะนำมาใช้เป็นเซลล์ต้นแบบได้
แม้ว่าการโคลนนิ่งจะมีความน่ากลัวเป็นเงาแฝงอยู่ในแง่ที่ว่านักวิทยาศาสตร์สามารถโคลนนิ่งมนุษย์ได้ แต่ถ้าสังคมมีกฎเกณฑ์และกฏหมายการโคลนนิ่งมนุษย์ การโคลนนิ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไปแต่เป็นการให้ประโยชน์มากกว่า
ประโยชน์ที่ได้รับจากโคลนนิ่ง ได้แก่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจขบวนการทำงานของยีน และการจำแนกชนิดของเซลล์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการแพทย์ เช่น ในอนาคตเมื่อเราทราบปัจจัยที่ทำหน้าที่ ปิด หรือเปิด การทำงานของยีน จะสามารถนำมารักษาโรคได้ เช่น ผู้ป่วยสมองตายจากอัมพาต ในอนาคตอาจสามารถกระตุ้นให้เซลล์สมอง แบ่งตัวทดแทนเซลล์ที่ตายไปได้ หรือผู้ป่วยที่ไตวาย สามารถกระตุ้นการทำงานและแบ่งตัวเซลล์ไตที่เหลืออยู่ให้ทำหน้าที่ทดแทนได้
มีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และพืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ ให้แพร่ขยายจำนวนขึ้นได้รวดเร็วกว่าการผสมกันตามธรรมชาติ
คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กำเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสได้บุตรมากขึ้น
ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจได้อวัยวะที่เข้ากันได้ ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกันแล้วไม่มีข้อเสียหรือโทษบ้างเลยหรือ ?
ข้อระมัดระวัง และประเด็นสำคัญของโคลนนิ่ง ที่สำคัญที่สุดในด้านจริยธรรม ทำให้เกิดความหวาดกลัวจนประธานาธิบดี บิล คลินตัน สั่งระงับการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้ไว้ก่อน ได้แก่
การทำโคลนนิ่งทำให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีในการเป็นต้นแบบ ซึ่งปัญหาอยู่ที่ว่า เราใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าลักษณะอย่างใด ที่เรียกว่าดี อย่างไรไม่ดี เนื่องจากลักษณะอย่างหนึ่ง ในสถานการณ์หรือสภาวะหนึ่ง อาจเป็นสิ่งดี แต่อีกสถานการณ์หนึ่งอาจจะไม่ดีก็ได้ เช่น ผิวดำ กับ ผิวขาว ดีหรือไม่, กรุ๊ปเลือดอะไร ฯลฯ
ความเหมือนกัน ทำให้สูญเสียความมีเอกลักษณ์ และความหลากหลาย อันเป็นต้นกำเนิดของวิวัฒนาการ ถ้าทุกคนทุกชีวิต เหมือนกันหมด จะไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีขึ้น
การทำโคลนนิ่งในมนุษย์ด้วยจุดประสงค์อันใดก็ตาม ก่อให้เกิดปัญหาจริยธรรมตามมามากมาย เช่น การทำโคลนนิ่งเพื่อต้องการอวัยวะมาเปลี่ยน แล้วจะถือว่าสิ่งที่โคลนขึ้นมาเป็นมนุษย์ด้วยหรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตธรรมดา, ปัญหาทางกฎหมาย ใครเป็นตัวจริง ตัวปลอม, การพิสูจน์บุตร, การค้นหาผู้กระทำผิดในคดีต่าง ๆ, การจำแนกคนโดยใช้การตรวจ DNA เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว เห็นได้ว่าการทำโคลนนิ่งเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง แต่มีประเด็นตามมาอีกมากมาย ทั้งในทางบวกและลบ แต่ควรตระหนักไว้ว่า "การค้นพบความจริงทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์เสมอ แต่จะเกิดโทษหรือไม่ขึ้นกับว่ามนุษย์นำความรู้นี้ ไปประยุกต์ใช้อย่างไร"
ตามความหมาย โคลนนิ่ง (Cloning) หมายถึงการคัดลอก หรือทำซ้ำ (copy) นั่นเอง สำหรับทางการแพทย์ หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนของเดิมทุกประการ การโคลนนิ่งเกิดอยู่เสมอในธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนได้แก่ การเกิดฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน นั่นเอง กระบวนการโคลนนิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ได้นำมาใช้เป็นเวลานานแล้วโดยเราไม่รู้ตัว ได้แก่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และตัวอ่อนสัตว์ โดยการแยกเซลล์ ซึ่งทำกันทั่วไปในวงการเกษตร
แต่ข่าวที่เป็นที่น่าตื่นเต้นในวงการวิทยาศาตร์การแพทย์ไปทั่วโลก ได้แก่ การทำโคลนนิ่งแกะ ที่ชื่อว่า ดอลลี่ นับเป็นการค้นพบครั้งใหม่ของวงการทีเดียวดอลลี่ เกิดมาได้ยังไง ?
สถาบัน รอสลิน ผู้สร้างดอลลี่ขึ้นมา โดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะหน้าขาวตัวหนึ่งซึ่งเจริญเต็มที่ ดูดเอานิวเคลียสของเซลล์ออกมา แล้วนำไปใส่ในไข่ที่ดูดมาจากรังไข่ของแกะหน้าดำ ซึ่งได้ดูดเอานิวเคลียสทิ้งไป เมื่อนำไปใส่แล้ว ก็นำเซลล์ที่ได้ ไปใส่ในโพรงมดลูกของแกะหน้าดำตัวเดิม ให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ได้ เมื่อครบกำหนด ออกมาลูกของแกะหน้าดำที่คลอดออกมากลับกลายเป็นแกะหน้าขาว ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับแกะหน้าขาว เจ้าของเซลล์เต้านมทุกประการแล้วมันแปลกยังไง เป็นความรู้ใหม่ตรงไหน ?
ความรู้จากการค้นพบใหม่นี้ มีหลายประการได้แก่
เป็นครั้งแรกที่สามารถทำให้เกิดการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) ได้ในสัตว์ชั้นสูงเช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งแต่เดิมมา การสืบพันธุ์จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยสารพันธุกรรมในโครโมโซม ครึ่งหนึ่งมาจาก sperm ของพ่อ (n) และอีกครึ่งหนึ่ง มาจากไข่ของแม่(n) แต่การโคลนนิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สารพันธุกรรมในโครโมโซมทั้งหมด (2n) มาจากต้นกำเนิดเดียวกัน คือ เซลล์เต้านมเซลเดียว
เป็นครั้งแรกที่พบว่า เซลล์ที่มีการจำแนกชนิด (differentiation) แล้ว ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะ และไม่ทำหน้าที่อื่นอีก เช่น เซลล์เต้านม ซึ่งทำหน้าที่ผลิตน้ำนมแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ทำหน้าที่อื่น สามารถย้อนกลับไปเป็นเซลล์ที่ไม่จำแนกชนิด (undifferentiated cell) เพื่อสามารถจำแนกชนิดได้อีกครั้ง กลายเป็นเซลล์สำหรับอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ, สมอง, ผิวหนัง, เลือด, อวัยวะต่าง ๆ
ทำให้เราได้ทราบว่า มีปัจจัยบางอย่าง (ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร) ซึ่งน่าจะอยู่ในไข่ ส่วน cytoplasm สามารถทำให้ยีนหรือสารพันธุกรรม ซึ่งถูกหยุดการทำงานไปแล้ว เนื่องจากการจำแนกชนิด ให้กลับมาทำงานได้อีก ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เซลล์ทุกชนิดในร่างกายของเรา มีสารพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาว, เซลล์ตับอ่อน, แม้กระทั่งเซลล์ประสาท แต่การที่เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถจับกินเชื้อโรคได้ แต่สร้างฮอร์โมนอินสุลินไม่ได้ ในขณะที่เซลล์ตับอ่อน สามารถสร้างฮอร์โมนอินสุลินได้ แต่จับกินเชื้อโรคไม่ได้ เนื่องจากเซลล์เหล่านี้ มียีนบางตัวที่ถูกหยุดการทำงานไปแล้ว และบางตัวยังคงทำงานอยู่ไม่เหมือนกันในแต่ละชนิดของเซลล์แล้วมนุษย์เราได้ประโยชน์จากความรู้นี้ยังไงบ้าง ?
วิธีการโคลนนิ่งในการโคลนนิ่งเป็นการนำเอานิวเคลียสของเซลล์ต้นแบบไปถ่ายฝากในเซลล์ไข่ที่ดูดเอานิวเคลียสออกแล้ว จึงเอานิวเคลียสของเซลล์ต้นแบบไปผ่านกระแสไฟฟ้า เพื่อเหนี่ยวนำให้ผนังเซลล์หลอมติดกันแล้วจึงนำไปเพาะเลี้ยงให้มีการพัฒนาเป็นเอ็มบริโอจนถึงระยะย้ายฝากได้
การเตรียมเซลล์ไข่เพื่อรับการถ่ายฝากนิวเคลียส ใช้เซลล์ไข่มาทำการเพาะเลี้ยงให้ไข่อ่อนเจริญจนถึงระยะเมตาเฟส II ในห้องปฏิบัติการในน้ำยาเพาะเลี้ยง TCM 199 ที่เสริมด้วยฮอร์โมน ในอุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส และสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมมีความชื้นสูงเป็นเวลา 20 ถึง 24 ชั่วโมง เซลล์ไข่จะสุกถึงระยะเมตาเฟส II สังเกตจากเซลล์หุ้มเซลล์ไข่กระจายออกมาก นำเซลล์ไข่เหล่านี้มาดูดเอานิวเคลียสออกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ที่ติดตั้งเครื่องมือจุลศัลยกรรม โดยมีปิเปตแก้วดูดจับเซลล์ไข่ไว้และปิเปตอีกข้างจะทำหน้าที่เจาะเซลล์ไข่เพื่อดูดเอานิวเคลียสออกมา ปิเปตแก้วเล็กๆนี้ได้รับการแต่งปลายให้เหมาะสมกับการใช้งาน จากนั้นใช้ปิเปตที่ดูดนิวเคลียสไปจับเซลล์ต้นแบบแล้วนำไปใส่ในเปลือกหุ้มเซลล์ไข่ ผนังเซลล์ทั้งสองจะสัมผัสกันจึงนำไปหลอมเซลล์ทั้งสองเข้าด้วยกัน ด้วยเครื่องหลอมเซลล์ ( electrofusion ) โดยใช้กระเสไฟฟ้าที่เหมาะสม นิวเคลียสที่เป็นเซลล์ต้นแบบอาจจะมาจากเซลล์เอ็มบริโอหรือเซลล์ร่างกายชนิดต่างๆนำเซลล์ที่หลอมแล้วมาทำการเพาะเลี้ยงต่อเพื่อให้มีการแบ่งตัวเป็นเอ็มบริโอจนถึงระยะนำไปย้ายฝากได้ การผลิตเอ็มบริโอเพื่อใช้เป็นเซลล์ต้นแบบ เอ็มบริโออาจได้จากการผสมตามธรรมชาติหรือผสมเทียมแล้วชะล้างออกมาจากตัวแม่หรือได้จากการผสมในหลอดทดลอง โดยเซลล์ไข่สุกที่ได้จากการเพาะเลี้ยง 20 ถึง 24 ชั่วโมงจะถูกนำมาปฏิสนธิกับเซลล์อสุจิของโคตัวผู้ซึ่งอาจเป็นเซลล์อสุจิที่ได้จากน้ำเชื้อสดหรือน้ำเชื้อแช่แข็งก็ได้ นำมาคัดเลือกเซลล์อสุจิโดยให้ว่ายน้ำขึ้นในน้ำยาเพื่อให้ได้เซลล์อสุจิที่มีอัตราการเคลื่อนไหวดี และนำมาเตรียมความพร้อมของหัวเซลล์อสุจิโดยใช้สารเฮปพาริน จึงนำไปผสมกับเซลล์ไข่โดยใช้เซลล์อสุจิที่มีคามเข้มข้น 1x106เซลล์/มิลลิลิตร เพาะเลี้ยงภายในเวลา 20 ชั่วโมง แล้วนำมาเพาะเลี้ยงร่วมกับเซลล์บุท่อนำไข่ เป็นเวลาประมาณ 4 ถึง 7 วัน แล้วแต่การเลือกใช้เซลล์จากเอ็มบริโอระยะใดอาจเพาะเลี้ยงจนหลุดออกจากเปลือกหุ้มและเกาะติดจานแก้วทำให้ได้เซลล์ที่เรียกว่าเซลล์ต้นกำเนิดเอ็มบริโอจึงจะนำมาใช้เป็นเซลล์ต้นแบบได้
แม้ว่าการโคลนนิ่งจะมีความน่ากลัวเป็นเงาแฝงอยู่ในแง่ที่ว่านักวิทยาศาสตร์สามารถโคลนนิ่งมนุษย์ได้ แต่ถ้าสังคมมีกฎเกณฑ์และกฏหมายการโคลนนิ่งมนุษย์ การโคลนนิ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไปแต่เป็นการให้ประโยชน์มากกว่า
ประโยชน์ที่ได้รับจากโคลนนิ่ง ได้แก่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจขบวนการทำงานของยีน และการจำแนกชนิดของเซลล์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการแพทย์ เช่น ในอนาคตเมื่อเราทราบปัจจัยที่ทำหน้าที่ ปิด หรือเปิด การทำงานของยีน จะสามารถนำมารักษาโรคได้ เช่น ผู้ป่วยสมองตายจากอัมพาต ในอนาคตอาจสามารถกระตุ้นให้เซลล์สมอง แบ่งตัวทดแทนเซลล์ที่ตายไปได้ หรือผู้ป่วยที่ไตวาย สามารถกระตุ้นการทำงานและแบ่งตัวเซลล์ไตที่เหลืออยู่ให้ทำหน้าที่ทดแทนได้
มีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และพืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ ให้แพร่ขยายจำนวนขึ้นได้รวดเร็วกว่าการผสมกันตามธรรมชาติ
คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กำเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสได้บุตรมากขึ้น
ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ อาจได้อวัยวะที่เข้ากันได้ ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกันแล้วไม่มีข้อเสียหรือโทษบ้างเลยหรือ ?
ข้อระมัดระวัง และประเด็นสำคัญของโคลนนิ่ง ที่สำคัญที่สุดในด้านจริยธรรม ทำให้เกิดความหวาดกลัวจนประธานาธิบดี บิล คลินตัน สั่งระงับการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้ไว้ก่อน ได้แก่
การทำโคลนนิ่งทำให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีในการเป็นต้นแบบ ซึ่งปัญหาอยู่ที่ว่า เราใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าลักษณะอย่างใด ที่เรียกว่าดี อย่างไรไม่ดี เนื่องจากลักษณะอย่างหนึ่ง ในสถานการณ์หรือสภาวะหนึ่ง อาจเป็นสิ่งดี แต่อีกสถานการณ์หนึ่งอาจจะไม่ดีก็ได้ เช่น ผิวดำ กับ ผิวขาว ดีหรือไม่, กรุ๊ปเลือดอะไร ฯลฯ
ความเหมือนกัน ทำให้สูญเสียความมีเอกลักษณ์ และความหลากหลาย อันเป็นต้นกำเนิดของวิวัฒนาการ ถ้าทุกคนทุกชีวิต เหมือนกันหมด จะไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีขึ้น
การทำโคลนนิ่งในมนุษย์ด้วยจุดประสงค์อันใดก็ตาม ก่อให้เกิดปัญหาจริยธรรมตามมามากมาย เช่น การทำโคลนนิ่งเพื่อต้องการอวัยวะมาเปลี่ยน แล้วจะถือว่าสิ่งที่โคลนขึ้นมาเป็นมนุษย์ด้วยหรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตธรรมดา, ปัญหาทางกฎหมาย ใครเป็นตัวจริง ตัวปลอม, การพิสูจน์บุตร, การค้นหาผู้กระทำผิดในคดีต่าง ๆ, การจำแนกคนโดยใช้การตรวจ DNA เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว เห็นได้ว่าการทำโคลนนิ่งเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง แต่มีประเด็นตามมาอีกมากมาย ทั้งในทางบวกและลบ แต่ควรตระหนักไว้ว่า "การค้นพบความจริงทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์เสมอ แต่จะเกิดโทษหรือไม่ขึ้นกับว่ามนุษย์นำความรู้นี้ ไปประยุกต์ใช้อย่างไร"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)